คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรก เป็นเครื่องโดดๆ ไม่มี network เชื่อมต่อกัน วิธีถ่ายโอนไฟล์ที่ง่ายที่สุดคือ diskette (น้องๆรู้จักมั้ยหว่า) ซึ่งทั้งช้า, พกพาก็ไม่สะดวก แถมยังเสียง่ายอีกด้วย
อีกอย่างคือตอนนั้นเรายังอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยเอกสารที่พิมพ์บนกระดาษ เครื่องพิมพ์เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ และการพิมพ์เอกสารก็หมายถึงการก็อปปี้ไฟล์ใส่ diskette ไปโหลดในเครื่องที่ต่อกับเครื่องพิมพ์เพื่อพิมพ์เอกสาร ถ้าโปรแกรมไม่เหมือนกัน ก็ต้องไปเสียเวลาลงโปรแกรมในเครื่องนั้นอีก นั่นคือภาพเมื่อราวปี 1980
ในปี 1982 มีบริษัทชื่อ Novel Data Systems เป็นบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะล้มละลาย บังเอิญโชคดี Raymond J. Noorda วิศวกรอาวุโสวัย 58 ปี ไปเจอบริษัทนี้แล้วเกิดสนใจในผลิตภัณฑ์เลยเข้าไปลงทุนในบริษัทนี้ด้วยเงิน 125,000 เหรียญ และระดมทุนจาก Venture Capitalist อีก 1.3 ล้านเหรียญ แลกกับหุ้น 33%
Novell ก่อตั้งมาเพื่อเป็นบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์ แต่ Noorda ซึ่งทำงานกับ General Electric (GE) มา 20 ปี มองการณ์ไกล เชื่อว่าระบบปฎิบัติการที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถแชร์อุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องพิมพ์ และ ดิสก์ไดร์ฟ กันได้น่าจะเป็นที่นิยม จึงยกเลิกแผนกฮาร์ดแวร์ แล้วมุ่งไปที่การพัฒนาระบบเครือข่าย
ระบบเครื่อข่ายของ Novell ใช้เครื่องตัวหนึ่งเป็นแม่ข่าย รันโปรแกรม file server ที่คอยจัดการ network และการเข้าถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ โดยระยะแรกนี้ใช้ฮาร์ดแวร์ network card จาก 3Com
Novell มีการพัฒนาระบบเครือข่ายอย่างรวดเร็ว ในปี 1983 ออก Btrieve ซึ่งเป็น multiuser database ตัวแรกที่ใช้ในวง LAN และออก network ที่ใช้ได้กับทั้ง UNIX, Macintosh และ DOS 3.1
บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วในปี 1984 ติดตั้งระบบเครือข่ายไปมากกว่า 50,000 ชุด และเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 1985 ยอดขายเพิ่มเป็น 200,000 ชุดในปี 1987
Novell ท้าชนดะ ไปจนถึงเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ กวาดตลาด Network แบบเบ็ดเสร็จด้วยการซื้อบริษัทที่ขาย storage และ LAN products
ในปี 1986 เริ่มแตกคอกับ 3Com เนื่องจาก 3Com ออก Network OS ของตัวเองแล้วไม่ยอมขาย network card ให้ Novell ทำให้ Novell ต้องผลิต Network card ของตัวเองแล้วออกขายในราคาที่ถูกว่า 3Com
Novell เติบโตขึ้นไปอีกเมื่อเข้าสู่ยุค CPU 80286 ยอดขายในปี 1987 ขายได้มากกว่า 2 ล้านชุด ทำเงิน 221.8 ล้านเหรียญ และในปีต่อมากินตลาด network ทั่วโลกไปกว่า 50% เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้หมดรวมทั้งเมนเฟรม
ในปี 1989 ออก NetWare 386 เชื่อมต่อได้ทั้ง IBM Mainframe, PC, Unix และ Macintosh ในวงเดียวกัน เป็นบริษัทเดียวในตลาดที่ทำได้ ยอดขายในปี 1990 เพิ่มขึ้นเป็น 497.5 ล้านเหรียญ ขยายตลาดไปทั่วโลก
สถานะการณ์ในช่วง 1990 คือ Microsoft เริ่มครองตลาด PC ด้วย Windows และ Word & Excel กำลังเขย่าบรรลังก์ของ Lotus 1-2-3 & WordPerfect อยู่
Novell จึงคิดเข้าควบรวมกับ Lotus หวังผลที่จะผนึกกำลังกัน และจะร่วมกับ WordPerfect สู้ไมโครซอฟต์ การควบรวมนี้หากสำเร็จจะทำให้ Novell กลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ดีลล่ม เพราะจำนวนบอร์ดของแต่ละฝั่งตกลงกันไม่ได้ แต่ทั้งสองบริษัทก็ยังร่วมมือกันต่อไปในอีกหลายด้าน
ในปี 1991 Novell ครองส่วนแบ่งตลาด network ไว้ถึง 61% ทั้ง IBM, HP และ Compaq เข้ามาช่วยทำการตลาดยิ่งเติบโตขึ้นไปอีก ในช่วงนี้เอง Novel เข้าซื้อ USL (Unix System Lab) จาก AT&T รวมบริษัทเป็น Univel บุกตลาด UNIX เต็มตัว
จากนั้นก็เข้าซื้อ Digital Research ออก DR-DOS มาแข่งกับไมโครซอฟต์ตรงๆ
ในปี 1992 เมื่อไมโครซอฟต์ออก Windows NT ออกมา Noorda เริ่มต้องการสู้กับไมโครซอฟต์อย่างจริงจัง เลยทุ่มเงินซื้อ WordPerfect และ Quattro Pro ซึ่งส่งผลให้หุ้น Novell เริ่มร่วง เนื่องจากใช้เงินในการนี้มากเกินไป
Noorda เกษียณออกจาก Novell ในปี 1994 และ Robert Frankenberg ลูกหม้อ HP มานั่งเป็น CEO ต่อ ขายทิ้งบริษัทที่ Noorda ซื้อมาและพยายามดึง Novell ให้กลับไปสู่ธุรกิจหลักคือ network แต่กลับละเลยการเติบโตของ Internet ซึ่งกำลังเปลี่ยนโลกของซอฟต์แวร์ไปอย่างสิ้นเชิง ยอดขายและส่วนแบ่งตลาดของ Novell ก็รูดลงต่อเนื่อง
Frankenberg ลาออกในปี 1996 และ Novell ไปดึง Eric Schmidt ซึ่งตอนนั้นเป็น CTO ของ Sun Microsystem มาเป็น CEO กู้สถานะการณ์ Eric คาดหวังว่าจะใช้ Java มาเสริมความแข็งแกรงของ Novell และทำ Directory Services สำหรับ Internet
ในปี 1998 ไมโครซอฟต์ก็ดับฝัน Novell ด้วยการออก Active Driectory ใน Windows NT และจากนั้นตำนานของ Network Computer ก็จบลง